
‘ดนตรีบำบัด’ จัดเป็นศาสตร์หนึ่งในการบำบัด ซึ่งมีหลักความเชื่อว่าการใช้เสียงเพลง รวมทั้งท่วงทำนองของดนตรีมาบรรเลงสอดประสานสร้างความขับกล่อม จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงความผ่อนคลาย หรือสามารถส่งผลกระทบในทางบำบัดรักษา ทางด้านจิตใจและสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้อีกด้วย
ดนตรีบำบัด ช่วยในเรื่องจิตใจของมนุษย์
ดนตรีและเสียงเพลง จัดเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์มาอย่างยาวนาน เพลงบางฟังเพลงแล้วเกิดความรู้สึกสนุกสนาน เพลงบางฟังแล้วเกิดความรู้สึกเบาสบาย หรือบางเพลงแล้วอาจทำให้นึกถึงช่วงเวลาเก่าๆ ทำให้นักบำบัดหลายคนมีความสนใจในเรื่องนี้ จึงทดลองนำเสียงดนตรีมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เปิดเพลงดึงดูดความสนใจจากคุณแม่ที่กำลังจะคลอด หรือเปิดเพลงให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายฟัง เป็นต้น
ความเชื่อ กับ ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
ในแง่ของการบำบัด ดนตรีสามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความคึกคัก พร้อมตอบสนองต่อเสียงเพลงเหล่า โดยอาจมีส่วนช่วยบรรเทาให้ผู้ป่วยสู้กับภาวะซึมเศร้าได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด นอกจากนี้บทเพลงอาจมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูร่างกายจากอาการเจ็บป่วย ได้อีกด้วย
ดนตรีบำบัดกับการบำบัดความทุกข์ภายในจิตใจ
3 แนวความคิดทางด้านลบของมนุษย์ ได้แก่ ความทุกข์ , ความเครียด รวมทั้งความวิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นจากอาการเจ็บป่วยและการเข้ารับการรักษา อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่มีความสุข และประสบความทุกข์ในระหว่างการรักษา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่ออาการป่วยที่เขากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงต่อกระบวนการรักษาของแพทย์ได้
การฟังเพลงอันมีท่วงทำนองดนตรีไพเราะต่างๆ อาจมีอิทธิพลต่อผู้ป่วย ซึ่งมีสรรพคุณ ช่วยบรรเทาความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล ลดความทุกข์ และความเจ็บปวด ในขณะที่เข้ารับการรักษาได้
เพราะฉะนั้น จึงมีการทดลองในเรื่องประสิทธิผลของการใช้ดนตรี ที่มาใช้ในการบำบัด เพื่อทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกผ่อนคลายจากสภาวะต่างๆ โดยหนึ่งในการทดลองแบบสุ่ม ทำให้ได้ข้อมูลอันน่าสนใจว่า เมื่อนำดนตรีสดกับทฤษฎีพฤติกรรมกลุ่ม เข้ามาใช้ในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน โดยพ่อ-แม่ของเด็กในกลุ่มทดลอง ซึ่งใช้ดนตรีช่วยบำบัด ได้บอกเล่าว่า ลูกของพวกเขามีความทุกข์ในขณะฉีดวัคซีนน้อยลงกว่าครั้งที่ผ่านๆ มา อีกทางด้านหนึ่งจากการสอบถามพ่อ-แม่เด็กในกลุ่มควบคุม ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคดนตรีบำบัด ได้เล่าว่าลูกของพวกเขา แสดงออกถึงความทุกข์เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ด้วยเหตุนี้จึงสามารถเป็นไปได้ว่า การบำบัดด้วยการแสดงดนตรีสด เป็นประโยชน์ต่อเด็กและผู้ปกครองในช่วงขั้นตอนการฉีดวัคซีน